
F1 Turbo ..ยุคแห่งการปรากฏตัวของ F1 – Turbocharger ..สูตรหนึ่งเทอร์โบชาร์จ ในช่วงปี 1977 ทำให้ยุคนั้น อาการ “Turbormania” ..หอยขึ้นสมอง ไม่ต่างจาก COVID-19 ยุคนี้..อิอิอิ )))
ณ ยุคนั้น ..การปรากฏตัวของ F1 สูตรหนึ่งเทอร์โบชาร์จ ในช่วงปี 1977 ทำให้ “Turbormania” หอยขึ้นสมอง คำว่า “เทอร์โบ” ถูกนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทุกผลิตภัณฑ์กินขี้ปี้นอน ตั้งแต่โลชั่น ครีมโกนหนวดไปจนถึงเครื่องดูดฝุ่น ยันคอปเตอร์เรือรบ ฯลฯ. ต้องมีโฆษณาว่าติดเทอร์โบ
ในโลก 2ล้อ ผู้ยิ่งใหญ่ #The Big 4 ทุกรายได้แตกไลน์ขยายเพิ่มรุ่น Turbo โดยมีฮอนด้าเป็นผู้นำในฐานะ Team Williams Honda F1 – Turbo ก่อนใคร
#1981-1983 Honda CX500 Turbo (CX 650 Turbo EU)
#Honda Is Number One ..หมูไม่กลัวหอยร้อนๆ ..เอ๊ย !.. หมูไม่กลัวน้ำร้อน น น น )))
ราวปี 1977-1989 ในวงการ FIA –F1 เรียกกันว่า “ยุคเทอร์โบ” ได้กำหนดให้ F1 มี ซีซี แค่ 1,500 cc + Turbo ให้สามารถ Power Boost 1,000 – 1,500 แรงม้า ..อะไรฟระเนี่ยะ !?@#$%
เมื่อกติกาแข่งรถ # FIA F1 – Formula One ลั่นเครื่องยนต์ Turbo 1.5 แรงม้า + Turbo = 1,000 แรงม้า ( * จากกติกาเดิม 3000 cc = 550-700 แรงม้า ) นั่นน่าจะเป็นอะไรที่ วงการ JAP Sport Bikes สายบันเทิง เอ๊ย !..สายยุ่น Factory Bikes สายสปอร์ตไบค์ ลั่น น น น ก่อนใคร )))
ทางวิศวกรรม Turbo เป็นวิธีที่ประหยัดต้นทุนในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเครื่องยนต์ มันช่วยลดต้นทุนขยายเครื่องยนต์ น้ำหนักเบาพลังเต็ม ตอบโจทย์ในมอเตอร์ไซค์ซึ่งที่วางเครื่องยนต์จำกัดคับแคบ แต่ในเวลานั้น 1981-1982 ฮอนด้าและยามาฮ่า ตัดสินใจ Turbo Times ก่อนใคร !?!
ฮอนด้า บูสท์ก่อน น น ..CX500 Turbo+PGM-F1 = 82-100 bhp )))
HM-Honda Motors ในฐานะถ้ำค้างคาว เอ๊ย !..แชม์ป F1 Turbo ได้เปิดตัว CX500 Turbo รุ่นปี 1982 (1983 มันถูกแทนที่ด้วย CX650 Turbo) สำหรับรุ่นปี 1983 ซึ่งหยุดตัวเองในปีเดียวกัน
1981 CX500 Turbo เป็นคันแรกรายแรกของฮอนด้าที่ติดตั้ง EFI – #PGM-FI ระบบฉีดเชื้อเพลิงอีเลคโทรนิคส์เป็นรายแรกในปี 1980
CX500 Turbo เครื่องยนต์พื้นฐานมาจาก V-twin ที่ได้เปรียบกว่าด้วย Water Cooled ระบายความร้อนด้วยน้ำ ฝาสูบ OHV ก้านกระทุ้งวาล์ว + เทอร์โบบูสต์ 17 bar เพิ่มแรงม้าเกือบสองเท่าจาก CX650 ธรรมดา พร้อมระบบช่วงล่าง เบรก เฟรมและฟูลแฟริ่ง + Pro-Link + TRAC (Torque Reactive Anti- การควบคุมการเร่งและเบรกอย่างมีเสถียรภาพเต็ม เพื่อรองรับพลังขับที่มากกว่าเดิม 82-100 แรงม้าจาก 500-650 cc นับว่า..เกิน น น น น น )))
1981-1983 Honda CX500-650 Turbo Type
- Engine : OHV V-twin Turbo 497 / 647 cc
- Fuel Injection : PGM-FI
- Compression Ratio : 10 : 1 / 7.8 : 1
- Turbo Boosted : 17.1 bar / 19 bar
- Ignition : CDI / Transistor
- Power : 82 bhp @ 8,000 rpm / 100 bhp @ 8,000 rpm
- Gearbox : 5 Speed
- Cooling system : Water cooled
- Drivetrain : Shaft Drive
- Weight : 242 / 260 kg.
- Speed : 170 km/h / 200 km/h
#1982-1984 ตามมา Yamaha XJ650L Sega Turbo !?!
ใครๆ ก็รู้นี่ว่า Yamaha + Toyota = Racing Team
1982 ถัดมา Yamaha เลือก XJ650L เป็นจุดเริ่มต้น เพื่อเพิ่มความเร็วในการพัฒนาด้วยต้นทุนต่ำ 650 Sega Turbo จึงตัดสินใจที่จะรักษาคาร์บูเรเตอร์มากกว่าจะยัด EFI หัวฉีด รีดพลังม้า 90 bhp = 750 Sega ด้วยประสิทธิภาพที่ดีขึ้นเล็กน้อย ทำให้ 650 Sega Turbo ยอดขายต่ำไม่อาจเรียกสาวกยามาฮ่าเทอร์โบได้มากนัก
1982-1984 Yamaha XJ650L Sega Turbo Specs
- Engine : DOHC 4 Cyl 2 Valves 653 cc Turbo
- Power : 90 bhp @ 9000 rpm
- Compression : 8.5:1
- Cooling system : Air Cooled
- Gearbox : 5-speed
- Final drive : Shaft Drive
- Weight : 262.0 kg
- Speed : 203 km/h
#1983 Suzuki XN85 Turbo..Times !?!
พร้อมกันกับ Yamaha 650 Sega Turbo ..ซูซูกิ วาง XN85
มันถูกออกแบบมาเป็น Sport Bikes (*ในยุคก่อนคำว่า Superbike จะเกิดใน AMA-Superbike ในอเมริกา)
ชื่อนี้มาจากข้อเท็จจริงที่ว่ามันผลิตได้ 85 bhp วัดจาก Dyno เครื่องวัดเครื่องม้าจริงที่ไม่ใช่ราคาคุย ซึ่งก่อนหน้านี้ Dynamo Test จะใช้วัดเฉพาะในรถแข่งเท่านั้น นอกจากนี้ XN85 ยังจัดทรง Aero ได้จริงจังเหนือกว่า Sport Bikes มันเป็นสไตล์จากมอเตอร์ไซค์ #Katana ด้วยแฮนด์ทรงหมอบ วางเท้าถอยหลังแบบรถแข่ง ท่อไอเสียแบบ Header 4 in 1 สี่ต่อหนึ่ง และระบบกันสะเทือนด้านหลัง Monoshock เดี่ยว Suzuki – Full Floater และเป็นคันแรกที่ Suzuki ตัดสินใจใช้ หัวฉีดเชื้อเพลิง-EFI
เครื่องยนต์ Boost @ 5,000 rpm เครื่องยนต์ระบบ Suzuki Advanced Cooling System แก้ปัญหาเรื่องความร้อน แต่เอาไม่อยู่ในที่สุด 1 ปีผลิต 1983 ยอดการผลิต XN85 รวมแค่ 1,153 คันส่งออกไป USA 300 คันนอกนั้น ไป EU Markets
1983 Suzuki XN85 Specs
- Engine : DOHC 673 cc 4Cyl 2 Valves Turbo
- Cooling System : Air/Oil-Cooled
- Power : 85 bhp @ 8,000 rpm
- Ignition type : Electronic
- Transmission : 5 Speed
- Drive : Chain
- Weight : 250 kg.
- Speed : 206 km/h
#1984-1985 Kawasaki GPz750 Turbo.. USA Test Bikes ..ที่เร็วที่สุด สุด ด ด ด
มาช้าดีกว่าไม่มา..”Turbokawa” ปิดท้าย Turbomania หอยพิษจอมพลัง ง ง ง !?@#$%
Turbo Sportbike รายล่าสุด สุด ด ด ที่ผลิตขึ้นในช่วงปลายปี 1984 ถึง 1985 โดยมีสองรุ่นคือ 1984 E1 และ 1985 E2 ที่มีความแตกต่างกันเล็กๆ
GPz750 Turbo ถูกผลิตในประเทศญี่ปุ่น แต่ส่ง OEM ชิ้นส่วนไปประกอบในโรงงาน USA เน้นสำหรับตลาดสหรัฐอเมริกา เพื่อเลี่ยงกำแพง Income -TAX ภาษีนำเข้าที่เรียกเก็บจาก The Big 4 – Yama-Hon-Ka-Suz มากโขอยู่ (เพราะตอนยุคนั้น H-D แบรนด์โคตรเชยส ส ส ส ส ประสพความขาดทุนยับ บ บ บ !?@#$% )
แม้ว่าจะติดป้ายแค่ GPz ไว้บนฝาครอบเครื่องยนต์ แต่คาวาซากิก็อ้างว่าเป็น “750 Turbo” แต่ดันทะลึ่งเต็ม Boost 112 แรงม้า และดูดีจากรูปทรง GPz 750 เมื่อเทียบทรงกับมอเตอร์ไซค์เทอร์โบจากThe Big 4 โรงงานอื่น ๆ ซึ่งมีอยู่ในตลาดแล้วเช่น Suzuki XN85, Honda CX500 และเทอร์โบ CX650 และ Yamaha Sega Turbo
ด้วยประสิทธิภาพการทำงานใกล้เคียงกับ GPz1100 และตีนไฟ 238 km/h แรงที่สุดใน ยุค Turbomania..หอยพิษจอมพลัง ง ง ง
GPz750 Turbo เพิ่มการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง EFI + Turbo ที่เหนือกว่าคือ คาวา แอบใช้ลูกสูบที่มีแรงอัดต่ำ (7.8: 1) ให้รับกับ Big Air Pressure Booster ที่สูงกว่ารายอื่นๆที่ งกๆเงิ่นๆ เอาแต่ประหยัดต้นทุนผลิต
แถมชุดเกียร์ขับที่แข็งแกร่งรับแรงเครียดพลังเทอร์โบ, ปั๊มพ์สูบฉีด Oil Crank + ปั๊มฉีดน้ำมัน EFI + “อลูมินั่มเทอร์โบ” แบบพิเศษ พร้อมระบบ Monoshock – Unitrak ซึ่งทำให้การขับขี่กระชับยิ่งขึ้น) ระบบไอเสีย Silencer และ เทอร์โบ ได้รับการเสริมความแข็งแรงด้วยวัสดุท่อที่แตกต่างกันและขนาดและรูปทรงเรขาคณิตของเฟรมบางอย่างแตกต่างกัน ด้วยการนำแผงคอตะเกียบหน้ามาจาก GPz1100 ที่ทอดมุมลาดมากกว่า GPz750 มาตรฐานเดิม..จึงนับว่า 1984-1985 GPz750 Turbo ว่าลงทุนเพื่อครองจ้าว “ Turbomania..ยุคหอยพิษจอมพลัง” อย่างแท้จริง !?!
USA Test Bikes ..ที่เร็วที่สุด สุด ด ด ด )))
ถึงขนาดนิตยสารไบค์สาย USA มีระบุว่าเป็นมอเตอร์ไซค์ที่เร็วที่สุดที่พวกเคยทดสอบ และคาวาซากิก็อ้างว่าเป็น Adver โฆษณาว่า “รถจักรยานยนต์ที่เร็วที่สุดในโลก” เพื่อแสดงให้เห็นว่าหอย เอ๊ย !..เทอร์โบนั้นมีคุณค่าเต็มสมรรถนะที่แท้จริงกว่า อิหอย ย ย ย ของโรงงานอื่น แน่นอนข้าฯมาที่หลังแต่แซงโลด ทั้งในปี 1984-85 นั้น GPz 750 Turbo ได้รับการพิจารณาอย่างกว้างขวางว่าเป็น Factory Turbo ที่ “ดีที่สุด” ที่ผลิตโดยผู้ผลิตชาวญี่ปุ่น (แอบทะลึ่งเลี่ยง Income TAX ปะกอบใน USA..อิอิอิ)
1984-1985 Kawasaki GPz750 Turbo Specs
- Engine : DOHC 738 cc. 4 Cyl 2 Valves Turbo
- Cooling System : Air-Cooled
- Power : 112 hp @ 8,500 rpm
- Ignition type : Electronic
- Gear : 5 Speed
- Drive : Chain
- Weight : 241 kg.
- Speed : 238 km/h
( * อนึ่งด้วยว่า ยุคสมัยนั้นๆ Turbo..หอยพิษจอมพลัง มิเพียงคลั่งแรงม้าเท่านั้น !?!,..แต่สาเหตุที่พวก มัน The Big 4..ทุกๆแบรนด์ ต้องพังพาบลงเร็วพลัน น น นั่นก็เพราะ..อาการ Turbo Lag เทอร์โบอั้น น น คลั่งความร้อน น น น ))) ..ซึ่ง ณ ยุคนั้น Water Cooled – Turbo และระบบ Turbo-Intercooled ยังไม่พัฒนาไกล ซึ่งหาก The Big 4 หวนกลับมา..บ้าหอยพิษ-Intercooled-บ้าพลัง-คลั่งแรงม้าอีกสักคลั่ง ง ง ..เจ๊ย ! อีกสักครั้ง ไม่แน่นะเพราะจนถึงยุคปัจจุบัน “Turbokawa” มันก็ยังทำ H2R วิ่งทะลุความบ้า 400 km/h @ 26 sec เฉยเลย ย ย ย ..ISHI ishi )))