คอนติเนนทอลฉลองความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่จากการผลิตเซ็นเซอร์เรดาร์ครบ 200 ล้านตัว จำนวนการผลิตนี้ได้สะท้อนถึงตำแหน่งผู้นำของบริษัทด้วยส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ในด้านส่วนประกอบเทคโนโลยีความปลอดภัยที่สำคัญสำหรับภาคส่วนยานยนต์ นอกจากนี้ยังเน้นย้ำถึงแนวโน้มสำคัญด้านการขับเคลื่อน ได้แก่ การพัฒนาระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง (ADAS) ซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างรวดเร็วเพื่อมุ่งสู่การขับขี่อัตโนมัติและไร้คนขับในอนาคต ในปีพ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นปีที่มีการนำเรดาร์ระยะไกลรุ่นแรกของคอนติเนนทอลมาติดตั้งในรถยนต์ Mercedes S-Class และปีพ.ศ. 2564 บริษัทได้ส่งมอบระบบเรดาร์ 100 ล้านชุด สี่ปีต่อมา บริษัทได้บรรลุเป้าหมายใหม่ด้วยการผลิตเซ็นเซอร์เรดาร์ 200 ล้านตัว การพัฒนาที่รวดเร็วนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สำคัญในด้านการพัฒนาและประสิทธิภาพการทำงาน รวมถึงความต้องการคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของรถยนต์ นอกจากนี้ คอนติเนนทอลยังประกาศการได้รับคำสั่งซื้อเซ็นเซอร์เรดาร์จำนวนมากจากผู้ผลิตยานยนต์อีกหลายราย มูลค่าประมาณ 1.5 พันล้านยูโรในไตรมาสแรกของปี การผลิตวางแผนจะเริ่มในปีพ.ศ. 2569 และ พ.ศ. 2570 ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต
ยอดขายที่เติบโตอย่างรวดเร็วเป็นผลมาจากจำนวนเซ็นเซอร์เรดาร์ที่เพิ่มขึ้นในยานยนต์สมัยใหม่ ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูงมอบความปลอดภัยและความสะดวกสบายที่มากขึ้นทั้งในยานยนต์และบนท้องถนน ด้วยเทคโนโลยีเซ็นเซอร์เรดาร์ของคอนติเนนทอลซึ่งมีพอร์ตโฟลิโอระบบเรดาร์อันทรงพลังและถูกออกแบบมาให้สามารถปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานในแต่ละประเภทและความต้องการของตลาดต่างๆ ในอดีต เซ็นเซอร์เรดาร์สำหรับการควบคุมระยะห่างเพียงตัวเดียวถูกนำมาติดตั้งที่ด้านหน้าของรถ แต่ในปัจจุบัน เซ็นเซอร์เรดาร์จำนวน 9 ตัวหรือมากกว่านั้นได้ถูกนำมาใช้ในบางกรณี นอกเหนือจากระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบปรับระยะห่าง ระบบช่วยเหลืออื่น ๆ เช่น การเบรกฉุกเฉิน การตรวจจับจุดบอด การเตือนเมื่อออกนอกเลน การแจ้งเตือนการจราจรข้ามทาง และการจอด ยังต้องมีการทำงานร่วมกับระบบเรดาร์ ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นการผสมผสานกับเซ็นเซอร์อื่นๆ เช่น กล้อง ระบบอัลตราโซนิก และ LiDAR ระบบเรดาร์ยังมีความสำคัญสำหรับยานยนต์อัตโนมัติหรือไร้คนขับ ซึ่งต้องอาศัยการตรวจสอบสภาพแวดล้อมของยายนต์แบบ 360 องศาที่แม่นยำและซ้ำซ้อน
เทคโนโลยีเรดาร์ที่ใช้ในยานยนต์ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คอนติเนนทอลมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบเรดาร์สำหรับรถยนต์ระบบแรกของโลก ในปีพ.ศ. 2542 Daimler ได้นำเสนอคุณลักษณะระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบปรับได้ในรถ Mercedes S-Class ซึ่งระบบนี้ใช้เรดาร์ระยะไกลที่มีระยะการทำงานถึง 150 เมตร ซึ่งถือเป็นสิ่งที่น่าทึ่งในสมัยนั้น โดยระบบประกอบด้วยสองส่วน ได้แก่ หัวเรดาร์ที่ติดตั้งไว้ด้านหลังกระจังหน้าหม้อน้ำและชุดควบคุม ทั้งสองส่วนมีน้ำหนักรวม 1.3 กิโลกรัมและมีขนาดประมาณกล่องรองเท้า ทำให้ระบบนี้ยังมีข้อจำกัดโดยมีขนาดใหญ่และหนักมากเมื่อเทียบกับโซลูชันในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม แม้แต่ในสมัยนั้น ทั้ง Mercedes และ คอนติเนนทอล ก็ยังให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่ซับซ้อน
ระบบเรดาร์ในปัจจุบันไม่ได้มีความคล้ายคลึงกับรุ่นแรกมากนัก “เซ็นเซอร์เรดาร์อัจฉริยะมีไมโครชิปที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ซึ่งประมวลผลสัญญาณที่ได้รับจากเซ็นเซอร์โดยตรงและโดยปกติจะใช้ร่วมกับข้อมูลจากระบบเซ็นเซอร์อื่นๆ เช่น กล้อง ทำให้พร้อมใช้งานแบบเรียลไทม์” Norbert Hammerschmidt หัวหน้าธุรกิจส่วนประกอบในกลุ่มธุรกิจยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติของคอนติเนนทอล กล่าว คอนติเนนทอลเป็นผู้นำในการพัฒนาระบบเรดาร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งปัจจุบันมีราคาเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของระบบบุกเบิกรุ่นแรกและใช้พื้นที่ในการติดตั้งเพียงเล็กน้อยโดยมีขนาดเท่ากับกล่องไม้ขีดสองกล่อง เซ็นเซอร์เรดาร์รุ่นล่าสุดถูกใช้งานทั้งในฟังก์ชันระยะสั้น เช่น ในระบบช่วยจอดหรือระบบเตือนออกนอกเลนบนทางหลวง หรือการใช้งานระยะยาวแบบดั้งเดิมที่มีระยะการทำงานถึง 300 เมตร นอกจากนี้ ระบบสมัยใหม่ยังมีความแม่นยำสูงจนสามารถระบุวัตถุที่อยู่ในระยะไกลในสถานการณ์ที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น เมื่อเปลี่ยนเลนบนทางด่วน ระบบสามารถตรวจจับมอเตอร์ไซค์ที่กำลังเข้าใกล้จากด้านหลังด้วยความเร็วที่แตกต่างกันอย่างมาก